kruworapan Article


ความเป็นมาของชนชาติไทย

ประวัติความเป็นมาของชนชาติไทย

การศึกษาเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ได้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 100 ปีเศษมาแล้ว โดยนักวิชาการชาวตะวันตก ต่อมาได้มีนักวิชาการสาขาต่างๆ ทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศได้ศึกษาค้นคว้าต่อมาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน การศึกษาค้นคว้าได้อาศัยหลักฐานต่างๆ เช่น โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องมือเครื่องใช้ เอกสารโบราณจีน หลักฐานทางภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ผลจากการค้นคว้าปรากฏว่านักวิชาการและผู้สนใจเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยต่างเสนอแนวคิดไว้หลายอย่าง แต่ยังไม่มีแนวคิดใดเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน ในระยะแรกๆ นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในดินแดนประเทศจีน ต่อมาได้อพยพย้ายถิ่นกระจายออกไป และได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ดังนี้  




แนวคิดที่ เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีนแถบเทือกเขาอัลไต

แนวคิด

ผู้เสนอแนวคิด

ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ

หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา

ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน  บริเวณเทือกเขา
อัลไต

1. ดร.วิลเลียม
คลิฟตัน  ดอดด์ : Dr.william  Clifton  Dodd  มิชชันนารี  ชาวอเมริกันได้เข้ามายังเมืองไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้วได้เดินทางไปยังประเทศจีน

เชื่อกันว่าพวกมุงเป็นบรรพบุรุษของไทยมีเชื้อสายมองโกล  เป็นชาติที่เก่าแกกว่าชาวฮีบรู  และจีน  เป็นเจ้าของถิ่นเดิมของจีนมาก่อนตั้งแต่ประมาณปีที่  1657  ก่อนพุทธศักราช  ต่อมาได้อพยพจากบริเวณเทือกเขาอัลไต มายังด้านตะวันตกของจีน  แล้วถอยร่นลงมายังบริเวณตอนกลางของจีนมาสู่ตอนใต้ของจีนจนในที่สุดได้มีคนไทยอพยพสู่คาบสมุทรอินโดจีน

ได้เขียนหนังสือชื่อว่า
The Thai Race-The Elder Brother of  the Chinese  หลวงแพทย์นิติสรรค์  แปลงเป็นไทยให้ชื่อว่า “ชนชาติไทย”

 

 

แนวคิด

ผู้เสนอแนวคิด

ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ

หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา

2. ขุนวิจิตรมาตรา

ที่มาภาพ http://www.numtan.com/story_2/picupreply/98-2-1081679827.jpg

ถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่บริเวณเทือกเขา อัลไต  ได้อพยพลงมาตั้งอาณาจักรนครลุงเป็นครั้งแรก  ต่อมาถูกพวกตาดมองโกลยึดครองจึงอพยพมาอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลเสฉวนตั้งอาณาจักรใหม่  ชื่อว่า “ปา”  คนไทยเรียกว่า “อ้ายลาว”  หรือ “มุง”  ต่อมานครปาเสียแก่จีน  จึงมาตั้งนครเงี้ยว  “ที่ลุ่มแม่น้ำแองซี  ถูกจีนรุนหลายครั้ง  ในที่สุดชนชาติไทยได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในดินแดนสุวรรณภูมิ2

ได้เขียนหนังสือชื่อ
“หลักไทย”

ข้อสรุปของแนวคิดที่
                แนวคิดที่ 1  ไม่เป็นที่ยอมรับของนักประวัติศาสตร์  ในปัจจุบันเนื่องจากมีอุปสรรคในการเดินทางไปตั้งถิ่นฐานของคนไทย  และไม่น่าจะอยู่ไกลถึงเทือกเขาอัลไต  ที่มีอากาศหนาวเย็นมาก  นอกจากนั้นการเดินทางลงมาทางใต้ต้องผ่านทะเลทรายโกบี  อันกว้างใหญ่ไพศาล




  

 

 แนวคิดที่ เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ทางตอนกลางของประเทศจีนบริเวณมณฑลเสฉวน

แนวคิด

ผู้เสนอแนวคิด

ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ

หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา

ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศบริเวณ
มณฑลเสฉวน

1.แตร์รีออง  เด ลา  คูเปอรี : Terrien de la Couperie ชาวฝรั่งเป็นศาสตร์ทางภาคศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน  ประเทศอังกฤษ

คนเชื้อชาติไทยเดิมตั้งถิ่นฐานเป็นอาณาจักรโบราณบริเวณตอนกลางของจีนแถบมณฑลเสฉวนประมาณ
ปีที่ 1765  ก่อนพุทธศักราช  จีนเรียกชนชาติไทยว่า “มุง”  หรือ “ต้ามุง”

ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชนชาติไทย  โดยอาศัยหลักฐานบันทึกของจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ได้เสนอแนวคิดไว้ในงานเขียน  2  ชิ้น  คือ
1. The Cradle of The Siam
Race
2. The Languages of
China  Before The
Chinese

2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม-พระยา ดำรงราชานุ-ภาพ










ชนชาติไทย  แต่เดิมตั้งบ้านเรื่องอยู่ระหว่างประเทศทิเบตกับจีนประมาณปี พ.ศ.500 ถูกจีนรุนราน  จึงอพยพถอยร่นมาทางตอนใต้ของจีน  และแยกย้ายเข้าไปทางทิศตะวันตกของยูนนานได้แก่  สิบสองจุไทย  ล้านนา  ล้านช้างอยู่ทางตอนกลางของยูนนานได้ทรงแสดงแนวทรรศนะไว้ในพระนิพนธ์  ชื่อ “แสดงบรรยายพงศาวดารสยามและลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ2

แนวคิดที่ เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ทางตอนกลางของประเทศจีนบริเวณมณฑลเสฉวน

แนวคิด

ผู้เสนอแนวคิด

ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ

หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา

3. หลวงวิจิตรวาท-การ

คนไทยเคยอยู่ในดินแดนซึ่งเป็นมณฑลเสฉวน  หูเป่ย์  อานฮุย  และเจียงซี  ในตอนกลางของประเทศจีนแล้วได้อพยพมาสู่มณฑลยูนานและแหลมอินโดจีน

ได้เรียบเรียงหนังสือ ชื่อว่า “งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย”

4. พระบริหารเทพ-ธานี

ถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศจีน  แล้วถอนร่นมายังบริเวณมณฑลยูนาน และลงมาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ได้เสนอแนวคิดไว้ในผลงาน “พงศาวดารไทย”

ข้อสรุปของแนวคิดที่
ระยะต่อมามีนักวิชาการได้ศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง  เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางภาษาลักษณะเผ่าพันธุ์  จากหลักฐานประเภทจดหมายเหตุจีน  กล่าวถึงผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับคนไทย  ที่อาศัยอยู่ในปัจจุบันมากนัก  ดังนั้นแนวคิดนี้จึงไม่เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการ

แผนที่แสดงแนวคิดถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในบริเวณตอนกลางของจีน
ที่มาภาพ นางพีรทิพย์   สุคันธเมศวร์

แนวคิดที่ เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ทางบริเวณตอนใต้ของประเทศจีน

แนวคิด

ผู้เสนอแนวคิด

ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ

หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา

ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน

1. อาร์ชิบัลด์  รอสส์ คอลูน : Archibald Ross Colquhoun นักสำรวจชาวอังกฤษเดินทางสำรวจ  โยเริ่มจากกวางตุ้งของจีนถึงเมืองมัณฑะเลย์  ในสหภาพพม่าและรัฐอัสสัมในสาธารณรัฐอินเดีย

พบกลุ่มชนชาติไทยอาศัยอยู่บริเวณตอนใต้ของจีน  มีภาษาพูดและความเป็นอยู่คล้ายคลึงกันในบริเวณที่ได้เดินทางสำรวจ

ได้เสนอแนวคิดในบทความเรื่อง Across Chryse

2. อี.เอช.ปาร์เกอร์ : E.H.Parker  เป็นชาวอังกฤษเคยเป็นกงสุลอังกฤษประจำเกาะไหหล่ำ

ในพุทธศตวรรษที่ 13 ชนชาติไทยได้ตั้งอาณาจักรน่าเจ้าที่มณฑลยูนนาน  ต่อมาลูกจีนรุกรานถอยร่นลงมาทางตอนใต้ของจีน

ได้เขียนบทความเรื่อง
The old Thai Mmpire
ในปี พ.ศ.2437  โดยใช้ตำนานของจีนตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์

3. ศาสตราจารย์โวลแฟรม อีเบอร์ฮาร์ด :Wolfram  Eberhard
นักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาชาวเยอรมันได้ศึกษาเรื่องชนเผ่าไทยเมื่อปี พ.ศ.2491

ชนเผ่าไทยอยู่ในบริเวณมณฑลและดินแดนในอ่าวตังเกี๋ย  แล้วได้สร้างอาณาจักรเทียนที่มณฑลยูนนาน  ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีน  ต่อมาสมัยราชวงศ์ถังของจีนชนเผ่าไทยได้สถาปนาอาณาจักรน่านเจ้า มณฑล
ยูนนาน

ได้เสนอแนวคิดไว้ในหนังสือชื่อ A History of china

แนวคิด

ผู้เสนอแนวคิด

ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ

หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา

4. เฟรเดอริค โมตะ : Ferderick Mote นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์จีน  ได้ศึกษาเอกสารสำคัญเกี่ยวกับสมัยน่านเจ้าโบราณ

พวกที่ปกครองน่านเจ้าคือพวกไป๋  และพวกยี๋  คนไทยที่น่านเจ้าเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง  แต่มิได้อยู่ในชนชั้นปกครอง

ได้ให้ทัศนะไว้ในบทความชื่อ Problems of  Thai  Prehistory : ปัญหาก่อนประวัติศาสตร์ไทย

5. จิตร ภูมิศักดิ์  มีผลงานศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย

คนไทยอาศัยกระจัดกระจายบริเวณทางตอนใต้ของจีนและบริเวณภาคเหนือของไทย  ลาว  เขมร  พม่า และรัฐอัสสัมของอินเดีย

ได้เสนอแนวคิดไว้ในงานเขียนชื่อ 1.ความเป็นมาของคำสยามไทย  ลาว  และขอม  2.ลักษณะทางสังคมและยึดชนชั้น

6. ขจร  สุขพานิช
นักประวัติศาสตร์ไทยที่สนใจศึกษาค้นคว้าความเป็นมาของชนชาติไทย

ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณทางตอนใต้ของจีนแถบมณฑลกวางตุ้งและกวางสี  ต่อมาได้อพยพลงมาทางตะวันตก  ตั้งแต่ยูนนานและลงมาทางตอนใต้ผ่านผ่านเขตสิบสองจูไทยลงมาที่ประเทศลาว

ได้เสนอแนวความคิดในเรื่อง “ถิ่นกำเนิดและแนวอพยพของเผ่าไทย”

7. พระยาประชากิจกรจักร
(แช่ม  บุนนาค)

ถิ่นกำเนิดเดิมของชนชาติไทยอยู่ทางตอนใต้ของจีน

ได้ค้นคว้าจากเอกสารทั้งไทยและต่างประเทศ  เมื่อประมาณปี พ.ศ.2441  ได้เรียบเรียงลงในหนังสือ
วชิรญาณ  เรื่องพงศาวดารโยนก



ข้อสรุปของแนวคิดที่

          แนวคิดที่ 3 เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของคนไทยอยู่กระจัดกระจายทั่วไป  ในบริเวณทางตอนใต้ของจีน ภาคเนหือของเวียดนาม ไทย ลาวพม่า และรัฐอัสสัมของอินเดีย เป็นแนวคิดนี้เชื่อว่าคนไทยเป็นกลุ่มคนที่ใช้ภาษาตระกูลไท และมีหลักฐานทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ นิรุกติศาสตร์  สนับสนุน จึงเป็นแนวคิดที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุด ร่วมกันในหมู่นักวิชาการปัจจุบัน

 แนวคิดที่ 4 เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณดินแดนประเทศไทย

แนวคิด

ผู้เสนอแนวคิด

ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ

หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา

ถิ่นกำเนิดของ
ชนชาติไทยอยู่บริเวณดินแดนประเทศไทย

1. พอล เบเนดิกต์
(Paul  Benedict) นักวิชาการชาวสหรัฐอเมริกา

ชนชาติไทยน่าจะอยู่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันในราว 4,000 – 3,000 ปีมาแล้ว จากนั้นมีพวกตระกูลมอญ เขมร อพยพมาจากอินเดียเข้าสู่แหลมอินโดจีนได้ผลักดันให้คนไทยกระจัดกระจายไปหลายทาง โดยกลุ่มหนึ่งอพยพไปทางตอนใต้ของจีนในปัจจุบัน ต่อมาถูกจีนผลักดันจึงถอยร่นลงไปอยู่ในเขตอัสสัม ฉาน ลาว ไทย ตังเกี๋ย ดังนั้นจึงมีกลุ่มชนที่พูดภาษาไทยกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป

ค้นคว้าโดยอาศัยหลักฐานทางภาษาศาสตร์ โดยเชื่อว่า ผู้คนที่อยู่บริเวณคาบสมุทรอินโดจีนย่อมมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน โดยยอมรับว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่ใหญ่ ภาษาหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

2. ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด
แสงวิเชียร ผู้เชี่ยวชาญด้าน
กายวิภาคศาสตร์

ดินแดนประเทศไทยน่าจะเป็นที่อยู่ของบรรพบุรุษคนไทยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์

หนังสือเรื่อง                         “ก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย” โดยศึกษาเปรียบเทียบโครงกระดูกของมนุษย์ยุคหินใหม่จำนวน 37 โครงที่คณะสำรวจไทย – เดนมาร์ก   ขุดพบบริเวณแม่น้ำแคว  ในจังหวัดกาญจนบุรี      ผลการศึกษาพบว่า      โครงกระดูกมนุษย์ของ   ยุคหินใหม่ มีลักษณะเหมือนโครงกระดูกของ คนไทยในปัจจุบัน

 

แนวคิด

ผู้เสนอแนวคิด

ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ

หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา

3. ศาตราจารย์ชิน อยู่ดี  ผู้เชี่ยวชาญ ทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

พื้นที่ซึ่งเป็นดินแดนประเทศไทยในปัจจุบันมีร่องรอยของผู้คนอาศัยอยู่มาตั้งแต่ยุค
หินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่ ยุคโลหะและเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ เนื่องจากแต่ละ  ยุคได้แสดงความสืบเนื่องทางวัฒนธรรมของคนไทยจนถึงปัจจุบัน เช่น  ประเพณีการ          ฝังศพ  เครื่องใช้เกี่ยวกับการเกษตร

จากการศึกษาทางด้านโบราณคดีโดยเฉพาะ     ทางโบราณคดีสมัย       ก่อนประวัติศาสตร์

ข้อสรุปของแนวคิดที่
เนื่องจากนักวิชาการกลุ่มนี้ มักอาศัยหลักฐานทางโบราณคดีเป็นหลักในการพิสูจน์แนวคิดของตนเอง ดังนั้นข้อสันนิษฐานของนักวิชาการกลุ่มนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับจากนักวิชาการในปัจจุบันมากนัก แนวคิดนี้ยังต้องอาศัยการค้นคว้าด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อหาข้อสรุปต่อไป

แผนที่แสดงแนวคิดถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในประเทศไทย 
ที่มาภาพ นางพีรทิพย์   สุคันธเมศวร์

แนวคิดที่ 5 เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณคาบสมุทรอินโดจีนหรือคาบสมุทรมลายู
                      และหมู่เกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย

แนวคิด

ผู้เสนอแนวคิด

ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ

หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา

ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณคาบสมุทร
อินโดจีนหรือคาบสมุทรมลายู และหมู่เกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย

นักวิชาการทางการแพทย์โดย นายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ
นายแพทย์ประเวศ
วะสี  คณะนักวิจัย ด้านพันธุศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จากผลงานการวิจัยทาง     พันธุศาสตร์ของนายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ เกี่ยวกับหมู่เลือด ลักษณะและความถี่ของยีน พบว่าหมู่เลือดของ คนไทยมีความคล้ายคลึงกับคนชาวเกาะชวา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้มากกว่าของคนจีนที่อยู่ทางตอนเหนือรวมทั้ง ลักษณะความถี่ของยีนระหว่างคนไทยกับคนจีน
ก็มีความแตกต่างกันและ    จากผลงานการวิจัยเรื่องฮีโมโกลบิน อี ของนายแพทย์ประเวศ วะสี พบว่า ฮีโมโกลบิน อี พบมากในผู้คนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือไทย เขมร มอญ ปรากฏว่าฮีโมโกลบิน อี    แทบจะไม่มีในหมู่คนจีน

1. ผลงานการวิจัยทาง   พันธุศาสตร์ของนายแพทย์สมศักดิ์   พันธุ์สมบุญ เกี่ยวกับหมู่เลือดลักษณะและจำนวนของยีน
2. ผลงานการวิจัยเรื่องฮีโมโกลบิน อี ของนายแพทย์ประเวศ  วะสี

ข้อสรุปของแนวคิดที่
                ชนชาติไทยน่าจะมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณคาบสมุทรอินโดจีน หรือคาบสมุทรมลายูและ       หมู่เกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย แต่แนวคิดนี้ปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน และยังไม่เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการที่ค้นคว้าเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย

แผนที่แสดงแนวคิดถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย 
ที่มาภาพ นางพีรทิพย์  สุคันธแมศวร์

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/malaiwan_c/historym1/unit02.html

  ศาสนาประจำชาติ  ส่วนมากนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน  รวมทั้งนับถือศาสนาเดิมที่นับถือบรรพบุรุษ

            การศึกษา  ชนชาติไทยในสมัยน่านเจ้ามีภาษาใช้ประจำชาติโดยเฉพาะแล้ว  แต่เรื่องของตัวหนังสือเรายังไม่สามารถทราบได้ว่ามีใช้หรือยัง

ชนชาติต่าง ๆ ในแหลมสุวรรณภูมิก่อนที่ไทยจะอพยพมาอยู่
ชนชาติดั้งเดิม และมีความเจริญน้อยที่สุดก็คือพวก นิโกรอิด (Negroid) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของ พวกเงาะ เช่น เซมัง ซาไก (Sakai) ปัจจุบันชนชาติเหล่านี้มีเหลืออยู่น้อยเต็มที  แถวปักษ์ใต้อาจมีเหลืออยู่บ้าง ในเวลาต่อมาชนชาติที่มีอารยธรรมสูงกว่า เช่น มอญ  ขอม  ละว้า  ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน
ขอม  มีถิ่นฐานทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแหลมสุวรรณภูมิ  ในบริเวณแม่น้ำโขงตอนใต้ และทะเลสาบเขมร
ลาวหรือละว้า  มีถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นดินแดนตอนกลางระหว่างขอมและมอญ
มอญ  มีถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำอิรวดี
ทั้งสามชาตินี้มีความละม้ายคล้ายคลึงกันมาก ตั้งแต่รูปร่าง หน้าตา ภาษา และขนบธรรมเนียมประเพณีสันนิษฐานได้ว่า น่าจะเป็นชนชาติเดียวกันมาแต่เดิม
อาณาจักรละว้า  เมื่อประมาณ พ.ศ. ๗๐๐ ชนชาติละว้าซึ่งเข้าครอบครองถิ่นเจ้าพระยา ได้ตั้งอาณาจักรใหญ่ขึ้นสามอาณาจักรคือ
อาณาจักรทวาราวดี  มีอาณาเขตประมาณตั้งแต่ราชบุรี ถึงพิษณุโลก มีนครปฐมเป็นเมืองหลวง
อาณาจักรโยนกหรือยาง  เป็นอาณาจักรทางเหนือในเขตพื้นที่เชียงราย และเชียงแสน มีเงินยางเป็นเมืองหลวง
อาณาจักรโคตรบูรณ์  มีอาณาเขตตั้งแต่นครราชสีมาถึงอุดรธานี มีนครพนมเป็นเมืองหลวง
อารยธรรมที่นำมาเผยแพร่  แหลมสุวรรณภูมิได้เป็นศูนย์กลางการค้าของจีน และอินเดียมาเป็นเวลาช้านาน จนกลายเป็นดินแดนแห่งอารยธรรมผสม  ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของบริเวณนี้ เป็นเหตุดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาอาศัย และติดต่อค้าขาย  นับตั้งแต่ พ.ศ. ๓๐๐ เป็นต้นมา  ได้มีชาวอินเดียมาอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิเป็นจำนวนมากขึ้นตามลำดับ  รวมทั้งพวกที่หนีภัยสงครามทางอินเดียตอนใต้ ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์แห่งแคว้นโกศลได้กรีฑาทัพไปตีแคว้นกลิงคราฎร์  ชาวพื้นเมืองอินเดียตอนใต้ จึงอพยพเข้ามาอยู่ที่พม่า ตลอดถึงพื้นที่ทั่วไปในแหลมมลายู และอินโดจีน  อาศัยที่พวกเหล่านี้มีความเจริญอยู่แล้ว จึงได้นำเอาวิชาความรู้และความเจริญต่าง ๆ มาเผยแพร่ คือ
ศาสนาพุทธ  พระพุทธศาสนา ซึ่งเหมาะสมในทางอบรมจิตใจ  ให้ความสว่างกระจ่างในเรื่อง บาป บุญ คุณ โทษ  สันนิษฐานว่า พุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่เป็นครั้งแรกโดย พระโสณะ และพระอุตระ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย
ศาสนาพราหมณ์  มีความเหมาะสมในด้านการปกครอง ซึ่งต้องการความศักดิ์สิทธิ์ และเด็ดขาด ศาสนานี้สอนให้เคารพในเทพเจ้าทั้งสามคือ พระอิศวร  พระพรหม  และพระนารายณ์
นิติศาสตร์  ได้แก่การปกครอง ได้วางแผนการปกครองหัวเมืองตลอดจนการตั้งมงคลนาม ถวายแก่พระมหากษัตริย์ และตั้งชื่อเมือง
อักษรศาสตร์  พวกอินเดียตอนใต้ได้นำเอาตัวอักษรคฤณฑ์เข้ามาเผยแพร่  ต่อมาภายหลังได้ดัดแปลงเป็นอักษรขอม และอักษรมอญ  พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย โดยดัดแปลงจากอักษรขอม เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๓
ศิลปศาสตร์  ได้แก่ฝีมือในการก่อสร้าง แกะสลัก ก่อพระสถูปเจดีย์ และหล่อพระพุทธรูป

  การแผ่อำนาจของขอมและพม่า
ประมาณปี พ.ศ. ๖๐๑ โกณฑัญญะ ซึ่งเป็นชาวอินเดียได้สมรสกับนางพญาขอม  และต่อมาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ครอบครองดินแดนของนางพญาขอม จัดการปกครองบ้านเมืองด้วยความเรียบร้อย  ทำนุบำรุงกิจการทหาร ทำให้ขอมเจริญขึ้นตามลำดับ  มีอาณาเขตแผ่ขยายออกไปมากขึ้น  ในที่สุดก็ได้ยกกำลังไปตีอาณาจักรโคตรบูรณ์ ซึ่งเป็นอาณาจักรที่อยู่ทางเหนือของละว้าไว้ได้  แล้วถือโอกาสเข้าตีอาณาจักรทวาราวดี
ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๖๐๐  กษัตริย์พม่าผู้มีความสามารถองค์หนึ่ง คือ พระเจ้าอโนธรามังช่อ  ได้ยกกองทัพมาตีอาณาจักรมอญ  เมื่อตีอาณาจักรมอญไว้ในอำนาจได้ แล้วก็ยกทัพล่วงเลยเข้ามาตีอาณาจักรทวาราวดี  และมีอำนาจครอบครองตลอดไปทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา  อำนาจของขอมก็สูญสิ้นไป  แต่เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าอโนธรามังช่อ อำนาจของพม่าในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ก็พลอยเสื่อมโทรมดับสูญไปด้วย เพราะกษัตริย์พม่าสมัยหลังเสื่อมความสามารถ  และมักแย่งชิงอำนาจซึ่งกันและกัน เปิดโอกาสให้แว่นแคว้นต่าง ๆ ที่เคยเป็นเมืองขึ้น ตั้งตัวเป็นอิสระได้อีก  ในระหว่างนี้ พวกไทยจากน่านเจ้า ได้อพยพเข้ามาอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิเป็นจำนวนมากขึ้น  เมื่อพม่าเสื่อมอำนาจลง คนไทยเหล่านี้ก็เริ่มจัดการปกครองกันเองในลุ่มน้ำเจ้าพระยา  ฝ่ายขอมนั้นเมื่อเห็นพม่าทอดทิ้งแดนละว้าเสียแล้ว  ก็หวลกลับมาจัดการปกครองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอีกวาระหนึ่ง โดยอ้างสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของเดิม  อย่างไรก็ตามอำนาจของขอมในเวลานั้นก็ซวดเซลงมากแล้ว  แต่เนื่องจากชาวไทยที่อพยพเข้ามาอยู่ยังไม่มีอำนาจเต็มที่  ขอมจึงบังคับให้ชาวไทยส่งส่วยให้ขอม  พวกคนไทยที่อยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ ไม่กล้าขัดขืน ยอมส่งส่วยให้แก่ขอมโดยดี จึงทำให้ขอมได้ใจ และเริ่มขยายอำนาจขึ้นไปทางเหนือ  ในการนี้เข้าใจว่าบางครั้งอาจต้องใช้กำลังกองทัพเข้าปราบปราม บรรดาเมืองที่ขัดขืนไม่ยอมส่งส่วย  ขอมจึงสามารถแผ่อำนาจขึ้นไปจนถึงแคว้นโยนก
ส่วนแคว้นโยนกนั้น ถือตนว่าไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของขอมมาก่อน จึงไม่ยอมส่งส่วยให้ตามที่ขอมบังคับ ขอมจึงใช้กำลังเข้าปราบปรามนครโยนกได้สำเร็จ  พระเจ้าพังคราช กษัตริย์แห่งโยนกลำดับที่ ๔๓ ได้ถูกเนรเทศไปอยู่ที่เมืองเวียงสีทอง

แคว้นโยนกเชียงแสน   (พ.ศ. ๑๖๖๑ – ๑๗๓๑)
ดังได้ทราบแล้วว่าโอรสของพระเจ้า พีล่อโก๊ะ องค์หนึ่ง ชื่อพระเจ้าสิงหนวัติ ได้มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นทางใต้ ชื่อเมืองโยนกนาคนคร เมืองดังกล่าวนี้อยู่ในเขตละว้า หรือในแคว้นโยนก  เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๑๑๑  เป็นเมืองที่สง่างามของย่านนั้น  ในเวลาต่อมาก็ได้รวบรวมเมืองที่อ่อนน้อมตั้งขึ้นเป็นแคว้น ชื่อโยนกเชียงแสน มีอาณาเขตทางทิศเหนือตลอดสิบสองปันนา  ทางใต้จดแคว้นหริภุญชัย  มีกษัตริย์สืบเชื้อสายต่อเนื่องกันมา จนถึงสมัยพระเจ้าพังคราชจึงได้เสียทีแก่ขอมดังกล่าวแล้ว
อย่างไรก็ตาม พระเจ้าพังคราชตกอับอยู่ไม่นานนัก ก็กลับเป็นเอกราชอีกครั้งหนึ่ง  ด้วยพระปรีชาสามารถของพระโอรสองค์น้อย คือ พระเจ้าพรหม  ซึ่งมีอุปนิสัยเป็นนักรบ และมีความกล้าหาญ  ได้สร้างสมกำลังผู้คน ฝึกหัดทหารจนชำนิชำนาญ แล้วคิดต่อสู้กับขอม ไม่ยอมส่งส่วยให้ขอม เมื่อขอมยกกองทัพมาปราบปราม ก็ตีกองทัพขอมแตกพ่ายกลับไป  และยังได้แผ่อาณาเขตเลยเข้ามาในดินแดนขอม  ได้ถึงเมืองเชลียง และตลอดถึงลานนา ลานช้าง  แล้วอัญเชิญพระราชบิดา กลับไปครองโยนกนาคนครเดิม  แล้วเปลี่ยนชื่อเมืองเสียใหม่ว่าชัยบุรี ส่วนพระองค์เองนั้นลงมาสร้างเมืองใหม่ทางใต้ชื่อเมืองชัยปราการ ให้พระเชษฐา คือ เจ้าทุกขิตราช ดำรงตำแหน่งอุปราช  นอกจากนั้นก็สร้างเมืองอื่น ๆ เช่น เมืองชัยนารายณ์  นครพางคำ  ให้เจ้านายองค์อื่น ๆ ปกครอง
เมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าพังคราช พระเจ้าทุกขิตราช ก็ได้ขึ้นครองเมืองชัยบุรี  ส่วนพระเจ้าพรหม และโอรสของพระองค์ก็ได้ครองเมืองชัยปราการต่อมา  ในสมัยนั้นขอมกำลังเสื่อมอำนาจ จึงมิได้ยกกำลังมาปราบปราม  ฝ่ายไทยนั้น แม้กำลังเป็นฝ่ายได้เปรียบ แต่ก็คงยังไม่มีกำลังมากพอที่จะแผ่ขยาย อาณาเขตลงมาทางใต้อีกได้  ดังนั้นอาณาเขตของไทยและขอมจึงประชิดกันเฉยอยู่
เมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าพรหม  กษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาอ่อนแอและหย่อนความสามารถ ซึ่งมิใช่แต่ที่นครชัยปราการเท่านั้น  ความเสื่อมได้เป็นไปอย่างทั่วถึงกันยังนครอื่น ๆ เช่น ชัยบุรี ชัยนารายณ์ และนครพางคำ ดังนั้นในปี พ.ศ. ๑๗๓๑  เมื่อมอญกรีฑาทัพใหญ่มารุกรานอาณาจักรขอมได้ชัยชนะแล้ว ก็ล่วงเลยเข้ามารุกรานอาณาจักรไทยเชียงแสน  ขณะนั้นโอรสของพระเจ้าพรหม คือ พระเจ้าชัยศิริ ปกครองเมืองชัยปราการ ไม่สามารถต้านทานศึกมอญได้ จึงจำเป็นต้องเผาเมือง เพื่อมิให้พวกข้าศึกเข้าอาศัย  แล้วพากันอพยพลงมาทางใต้ของดินแดนสุวรรณภูมิ  จนกระทั่งมาถึงเมืองร้างแห่งหนึ่งในแขวงเมืองกำแพงเพชร ชื่อเมืองแปป  ได้อาศัยอยู่ที่เมืองแปปอยู่ห้วงระยะเวลาหนึ่ง  เห็นว่าชัยภูมิไม่สู้เหมาะ เพราะอยู่ใกล้ขอม จึงได้อพยพลงมาทางใต้จนถึงเมืองนครปฐมจึงได้พักอาศัยอยู่ ณ ที่นั้น
ส่วนกองทัพมอญ หลังจากรุกรานเมืองชัยปราการแล้ว ก็ได้ยกล่วงเลยตลอดไปถึงเมืองอื่น ๆ ในแคว้นโยนกเชียงแสน จึงทำให้พระญาติของพระเจ้าชัยศิริ ซึ่งครองเมืองชัยบุรี ต้องอพยพหลบหนีข้าศึกเช่นกัน ปรากฎว่าเมืองชัยบุรีนั้นเกิดน้ำท่วม  บรรดาเมืองในแคว้นโยนกต่างก็ถูกทำลายลงหมดแล้ว  พวกมอญเห็นว่าหากเข้าไปตั้งอยู่ก็อาจเสียแรง เสียเวลา และทรัพย์สินเงินทองเพื่อที่จะสถาปนาขึ้นมาใหม่ ดังนั้นพวกมอญจึงยกกองทัพกลับ  เป็นเหตุให้แว่นแคว้นนี้ว่างเปล่า ขาดผู้ปกครองอยู่ห้วงระยะเวลาหนึ่ง
ในระหว่างที่ฝ่ายไทย กำลังระส่ำระสายอยู่นี้ เป็นโอกาสให้ขอมซึ่งมีราชธานีอุปราชอยู่ที่เมืองละโว้ ถือสิทธิ์เข้าครองแคว้นโยนก แล้วบังคับให้คนไทยที่ตกค้างอยู่นั้นให้ส่งส่วยให้แก่ขอม  ความพินาศของแคว้นโยนกครั้งนี้ ทำให้ชาวไทยต้องอพยพแยกย้ายกันลงมาเป็นสองสายคือ สายของพระเจ้าชัยศิริ อพยพลงมาทางใต้ และได้อาศัยอยู่ชั่วคราวที่เมืองแปปดังกล่าวแล้ว  ส่วนสายพวกชัยบุรีได้แยกออกไปทางตะวันออกของสุโขทัย จนมาถึงเมืองนครไทย
จึงได้เข้าไปตั้งอยู่ ณ เมืองนั้นด้วยเห็นว่าเป็นเมืองที่มีชัยภูมิเหมาะสม  เพราะเป็นเมืองใหญ่ และตั้งอยู่สุดเขตของขอมทางเหนือ  ผู้คนในเมืองนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นชาวไทย  อย่างไรก็ตามในชั้นแรกที่เข้ามาตั้งอยู่นั้น ก็คงต้องยอมขึ้นอยู่กับขอม ซึ่งขณะนั้นยังมีอำนาจอยู่
ในเวลาต่อมา เมื่อคนไทยอพยพลงมาจากน่านเจ้าเป็นจำนวนมาก  ทำให้นครไทยมีกำลังผู้คนมากขึ้น ข้างฝ่ายอาณาจักรลานนาหรือโยนกนั้น  เมื่อพระเจ้าชัยศิริทิ้งเมืองลงมาทางใต้ แล้วก็เป็นเหตุให้ดินแดนแถบนั้นว่างผู้ปกครองอยู่ระยะหนึ่ง  แต่ในระยะต่อมาชาวไทยที่ค้างการอพยพ อยู่ในเขตนั้นก็ได้รวมตัวกัน ตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้นหลายแห่งตั้งเป็นอิสระแก่กัน  บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นที่นับว่าสำคัญ มีอยู่สามเมืองด้วยกัน คือ นครเงินยาง อยู่ทางเหนือ นครพะเยา อยู่ตอนกลาง และเมืองหริภุญไชย อยู่ลงมาทางใต้  ส่วนเมืองนครไทยนั้นด้วยเหตุที่ว่ามีที่ตั้งอยู่ปลายทางการอพยพ และอาศัยที่มีราชวงศ์เชื้อสายโยนกอพยพมาอยู่ที่เมืองนี้ จึงเป็นที่นิยมของชาวไทยมากกว่าพวกอื่น  จึงได้รับยกย่องขึ้นเป็นพ่อเมือง  ที่ตั้งของเมืองนครไทยนั้นสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเมืองเดียวกันกับเมืองบางยาง  ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ มีเมืองขึ้น และเจ้าเมืองมีฐานะเป็นพ่อขุน
เมื่อบรรดาชาวไทย เกิดความคิดที่จะสลัดแอก ของขอมครั้งนี้  บุคคลสำคัญในการนี้ก็คือ พ่อขุนบางกลางท่าว ซึ่งเป็นเจ้าเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดได้ร่วมกำลังกันยกขึ้นไปโจมตีขอม จนได้เมืองสุโขทัยอันเป็นเมืองหน้าด่านของขอมไว้ได้ เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๐๐  การมีชัยชนะของฝ่ายไทยในครั้งนั้น นับว่าเป็นนิมิตหมายเบื้องต้น แห่งความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติไทย  และเป็นลางร้ายแห่งความเสื่อมโทรมของขอม  เพราะนับแต่วาระนั้นเป็นต้นมา ขอมก็เสื่อมอำนาจลงทุกที จนในที่สุดก็สิ้นอำนาจไปจากดินแดนละว้า  แต่ยังคงมีอำนาจปกครองเหนือลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนใต้อยู่

http://www.sukhothai.go.th/history/hist_01.htm

Advertisements

 



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 89.36 KBs
Upload : 2017-07-06 15:49:40
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


kruworapan
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม


NSSC-KM © 2017

Generated 0.101576 sec.