ความสำคัญของเวลา
เวลาเป็นแนวคิดที่เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้แต่ความคิดเรื่องเวลามี ความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตและกิจกรรมของมนุษย์อยู่ตลอดในสมัยโบราณมนุษย์สามารถบอกเวลาได้จากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น แสงสว่างที่มาพร้อมกับดวงอาทิตย์และตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าลักษณะของดวงจันทร์ที่ปรากฏในแต่ละคืนหรือการที่มีฝนตกหรือฝนไม่ตก การผลิดอกออกผลของต้นไม้เป็นต้น มนุษย์รู้จักนับเวลามาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีหลักฐานว่าใช้การขีดลงบนแผ่นดินเพื่อบันทึกวันเดือนที่ผ่านไปนั่นคือ ความคิดเรื่องเวลาเกี่ยวกับปฏิทินเมื่อมนุษย์มีการพัฒนาด้านวิทยาการมากขึ้นก็มีการสร้างนาฬิกาซึ่งเป็นเครื่องมือบอกเวลาที่แน่นอนมากขึ้นและมีวิธีการกำหนดจำนวนวันในปฏิทินให้เป็นรอบปี ที่สอดคล้องกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ เวลามีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ในปัจจุบันอย่างไรเป็นสิ่งที่เราทุกคนคงตระหนักดีเวลาเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราสามารถจัดระบบชีวิตส่วนตัวและสังคมได้และช่วยทำให้มนุษย์สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆทั้งที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเนื่องจากประวัติศาสตร์เป็นเรื่องราวของมนุษย์และเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีตซึ่งดำเนินไปตามลำดับกาลเวลาการที่เราจะเข้าใจเหตุการณ์ในอดีตรวมทั้งสาเหตุและผลของเหตุการณ์เหล่านั้นได้เราจึงจำเป็นต้องทราบลำดับเวลาของเหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกันหรือเป็นเหตุเป็นผลแก่กันประวัติศาสตร์ของทุกชนชาติจึงต้องมีเวลาเป็นเกณฑ์อ้างอิงหรือเส้นกำกับเวลาอยู่ตลอดเวลาหาไม่แล้วเหตุการณ์ต่างๆก็คงจะไม่มีความหมายหรือหากจะยังมีความหมายอยู่บ้างก็คงจะเป็นความหมายทีเลื่อนลางด้วยไม่ทราบว่าอะไรเกิดขึ้นก่อนหรือหลังดังนั้นจึงไม่สามารถจะทราบอย่างแน่ชัดว่าอะไรคือสาเหตุและอะไรคือผลซึ่งจะมี ผลตามมาคือทำให้เราไม่ทราบว่าเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์นั้นมีความหมายที่แท้จริงอย่างไร
จุดมุ่งหมายในการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ เป็นยุคสมัยต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตและช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากลแบ่งออกเป็น 2 สมัย คือ
1) สมัยก่อนประวัติศาสตร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ จึงยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้น การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์และตีความจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับที่ทำจากหิน โลหะ และโครงกระดูกมนุษย์
ปัจจุบันการกำหนดอายุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย อาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี แบบแผนการดำรงชีพและสังคม ยุคสมัยทางธรณีวิทยา นำมาใช้ร่วมกันในการกำหนดยุคสมัย โดยสามารถแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้ดังนี้
1.1) ยุคหิน เริ่มเมื่อประมาณ 500,000 ถึง 4,000 ปี ล่วงมาแล้ว แบ่งเป็น 3 ยุคย่อย ดังนี้
- ยุคหินเก่า (500,000 – 10,000 ปีมาแล้ว ) เป็นช่วงเวลาแรก ๆ ของมนุษยชาติ มนุษย์รู้จักใช้เครื่องมือขวานหินกะเทาะ ในระยะแรก เครื่องมือจะมีลักษณะหยาบ โดยนำหินกรวดแม่น้ำมากะเทาะเพียงด้านเดียวและไม่ได้กะเทาะหมดทั้งก้อน ใช้สำหรับขุดสับและสับตัด มนุษย์
ในยุคหินเก่า ดำรงชีวิตอย่างเร่ร่อน ล่าสัตว์และหาของป่ากินเป็นอาหาร
- ยุคหินกลาง (10,000 – 6,000 ปีมาแล้ว) เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับล่าสัตว์ด้วยหินที่มีความประณีตมากขึ้นและมนุษย์ในยุคหินกลางเริ่มรู้จักการอยู่รวมกลุ่มเป็นสังคมมากขึ้น
- ยุคหินใหม่ (6,000 – 4,000 ปีมาแล้ว) เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือด้วยหินขัดเป็นมันเรียบ เรียกว่า ขวานหินขัด ใช้สำหรับตัดเฉือนแบบมีดหรือต่อด้ามเพื่อใช้เป็นเครื่องมือขุดหรือถาก มนุษย์ยุคหินใหม่มีความเจริญมากกว่ายุคก่อน ๆ รู้จักตั้งถิ่นฐานเป็น หลักแหล่ง รู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทำภาชนะดินเผา
1.2) ยุคโลหะ เป็นช่วงที่มนุษย์มีพัฒนาการด้านการทำเครื่องมือเครื่องใช้ โดยรู้จักการนำแร่ธาตุมาถลุงและหลอมใช้หล่อทำเป็นอาวุธหรือเครื่องมือและเครื่องประดับต่าง ๆ แบ่งสมัยได้ตามวัตถุของโลหะ คือ
- ยุคสำริด (4,000 – 2,500 ปีมาแล้ว) เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักใช้โลหะสำริด(ทองแดงผสมดีบุก) ทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่ายุคหิน อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น รู้จักปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์
- ยุคเหล็ก (2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว) เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักนำเหล็กมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งมีคุณภาพดีแข็งแกร่งกว่าสำริด การดำรงชีวิตด้วยการเกษตรกรรม มีการติดต่อค้าขายระหว่างชุมชนต่าง
2) สมัยประวัติศาสตร์ เป็นยุคสมัยที่มนุษย์รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาใช้แล้ว โดยได้มีการบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ ในยุคสมัยนั้นเป็นลายลักษณ์อักษร มักพบอยู่ตาม ผนังถ้ำ แผ่นดินเหนียว แผ่นหิน ใบลาน และแผ่นโลหะ
ชุมชนของมนุษย์ในภูมิภาคต่างๆ ก้าวเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ ในระยะเวลาไม่เท่ากัน เนื่องด้วยความสามารถของมนุษย์ในการสร้างสรรค์อารยธรรมความเจริญที่แตกต่างกัน ดังนั้น สมัยประวัติศาสตร์ในทางสากล จึงแบ่งเป็น 3 ยุคย่อยๆ ดังนี้
2.1) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่ความเจริญของแหล่งอารยธรรม เมโสโปเตเมีย อารยธรรมอียิปต์โบราณ และอารยธรรมกรีก โรมัน จนกระทั่งสิ้นสุดลงเมื่อกรุงโรม ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิถูกตีแตกโดยพวกอนารยชนในปี พ.ศ.1019
2.2) ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มภายหลังจากที่กรุงโรม (จักรวรรดิโรมันตะวันตก)ถูกพวกอนารยชนตีแตกในปี พ.ศ.1019 จนกระทั่งในปี พ.ศ.1996 สมัยกลางจึงสิ้นสุดลง เมื่อชนชาติเติร์ก ที่นับถือศาสนาอิสลามเข้าโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล(จักรวรรดิโรมันตะวันออก)
2.3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มภายหลังจากที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกตีแตก เมื่อปี พ.ศ.1996 เป็นต้นมา จนกระทั้งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2488 มีเหตุการณ์สำคัญในยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่หลายประการ เช่น การปฏิรูปศาสนา การเกิดลัทธิหรือแนวความคิดแบบเสรีนิยม ประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ ทางด้านเศรษฐกิจ มีการขยายตัวทางการค้าทางเรือสำเภา การแสวงหาดินแดนใหม่และปฏิวัติอุตสาหกรรม
3) การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบไทย
นักประวัติศาสตร์นิยมแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบไทย ที่มีลักษณะเป็นรูปแบบของตนเอง ดังนี้
3.1) แบ่งตามสมัยหรือตามเวลาที่เริ่มมีตัวอักษร โดยแบ่งได้ 2 สมัย ดังนี้
- สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึง ยุคที่ยังไม่มีการบันทึกเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งออกเป็นยุคหิน(ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่) และยุคโลหะ(ยุคสำริด ยุคเหล็ก) โดยมีการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยตามลำดับ
- สมัยประวัติศาสตร์ หมายถึง ยุคที่มนุษย์เริ่มมีการใช้ตัวอักษรบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ จากหลักฐานที่ค้นพบได้แก่ หลักศิลาจารึก
3.2) แบ่งยุคสมัยตามอาณาจักร ได้มีการแบ่งยุคสมัยตามอาณาจักร ได้แก่ อาณาจักร ทวารวดี(นครปฐม) อาณาจักรละโว้(ลพบุรี) อาณาจักรตามพรลิงค์(นครศรีธรรมราช) อาณาจักรศรีวิชัย(สุราษฎร์ธานี) อาณาจักรหริภุญชัย(ลำพูน)
3.3) แบ่งยุคสมัยตามราชธานี เป็นการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ตามราชธานี ของไทยเรียงความลำดับ เช่น สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์
3.4) แบ่งยุคสมัยตามพระราชวงศ์ เป็นการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามพระราชวงศ์ เช่น สมัยราชวงศ์พระร่วง ของอาณาจักรสุโขทัย สมัยราชวงศ์อู่ทอง สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ สมัยราชวงศ์สุโขทัย สมัยราชวงศ์ปราสาททอง สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง โดยทั้งหมดเป็นชื่อ พระราชวงศ์ที่ครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์ในสมัยอยุธยา ราชวงศ์จักรี ในสมัยรัตนโกสินทร์
3.5) แบ่งยุคสมัยตามรัชกาล เป็นการแบ่งยุคสมัยในช่วงเวลาที่พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นครองราชย์อยู่ ได้แก่ รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
3.6) แบ่งยุคสมัยตามระบอบการเมืองการปกครอง ได้แก่ สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสมัยประชาธิปไตย โดยถือเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นเส้นแบ่งยุคสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
1.ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ(3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช-ค.ศ. 476)
เริ่มเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกบริเวณดินแดนเมโสโปเตเมียแถบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีสและดินแดนอียิปต์แถบลุ่มแม่น้ำไนล์ที่ชาวเมโสโปเตเมียและชาวอียิปต์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรได้เมื่อ 3,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราชจากนั้นอิทธิ พลของความเจริญของสองอารยธรรมก็ได้แพร่หลายไปยังทางใต้ของยุโรปสู่เกาะครีตต่อมาชาวกรีกได้รับเอาความเจริญจากเกาะครีตและความเจริญของอียิปต์มาสร้างสมเป็นอารยธรรมกรีกขึ้นและเมื่อชาวโรมันในแหลมอิตาลียึดครองกรีกได้ชาวโรมันก็นำอารยธรรมกรีกกลับไปยังโรมและสร้างสมอารยธรรมโรมันขึ้นต่อมาเมื่อชาวโรมันสถาปนาจักรวรรดิโรมันพร้อมกับขยายอาณาเขตของตนไปอย่างกว้างขวางอารยธรรมโรมันจึงแพร่ขยายออกไปจนกระทั่งจักรวรรดิโรมันล่มสลายลงเมื่อพวกชนเผ่าเยอรมันเข้ายึดกรุงโรมได้ใน ค.ศ. 476 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณของชาติตะวันตกจึงสิ้นสุดลง
2. ประวัติศาสตร์สมัยกลาง (ค.ศ.476 -ค.ศ.1453)
เริ่มตั้งแต่การสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในค.ศ.476 เมื่อถูกพวกอนารยชนเยอรมันเผ่าวิสิกอธ (Visigoth)โจมตี ซึ่งเหตุการณ์นี้ถือเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมันตะวันตกเมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายลงสภาพทั่วไปของกรุงโรมเต็มไปด้วยความวุ่นวายการเมืองเศรษฐกิจและสังคมอ่อนแอประชาชนอดอยากขาดที่พึ่งมีปัญหาเรื่องโจรผู้ร้ายเนื่องจากช่วงเวลานี้ยุโรปตะวันตกไม่มีจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ปกครองดังเช่นจักรวรรดิโรมันนอกจากนี้ยังถูกพวกอารยชนเผ่าต่างๆเข้ามารุกรานส่งผลให้อารยธรรมกรีกและโรมันอันเจริญรุ่งเรืองในยุโรปตะวันตกได้หยุดชะงักลงนักประวัติศาสตร์สมัยก่อนจึงเรียกช่วงสมัยนี้อีกชื่อหนึ่งว่ายุคมืด (Dark Ages) หลังจากนั้น ศูนย์กลางของอำนาจยุโรปได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองไบแซนติ อุม(Byzantium) ซึ่งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบันโดยจักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantion) เป็นผู้สถาปนาจักรวรรดิ แห่งใหม่ที่มี ความเจริญรุ่งเรืองซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อคอนสแตนติโนเปิล(Constantinople) ตามชื่อของจักรพรรดิคอนสแตนตินประวัติศาสตร์สมัยกลางนี้เป็นช่วงเวลาที่มี การเปลี่ยนแปลงอารยธรรมตะวั นตกจากอารยธรรมโรมันไปสู่อารยธรรมคริสต์ศาสนาเป็นสมัยที่ตะวันตกได้รับอิทธิพลอย่างมากจากคริสต์ศาสนาทั้งทางด้านการเมืองเศรษฐกิจสังคมและศิลปวัฒนธรรมนอกจากนี้สังคมสมัยกลางยังมีลักษณะเป็นสังคมในระบบฟิวดัล (Feudalism) หรือสังคมระบบศักดิ นาสวามิภักดิ์ที่ขุนนางมีอำนาจครอบครองพื้นที่โดยประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะเป็นข้าติดที่ดิน (sert) และดำรงชีวิตอยู่ในเขตแมเนอร์ (Manor) ของขุนนางซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของสังคมสมัยกลางนอกจากนี้ในสมัยกลางนี้ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญคือสงครามครูเสดซึ่งเป็นสงครามความขัดแย้งระหว่างคริสต์ศาสนากับศาสนาอิสลามที่กินเวลาเกือบ 200 ปีเป็นผลให้เกิดการค้นหาเส้นทางการค้าทางทะเลและวิทยาการด้านอื่นๆตามมาสมัยกลางสิ้นสุดใน ค.ศ.1453 เมื่อพวกออตโตมันเตอร์กสามารถยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลของจักรวรรดิโรมันตะวันตกได้
3.ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (ค.ศ.1453-1945)
ประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ถือว่าเริ่มต้นใน ค.ศ. 1453 เป็นปีที่ชนเผ่าเติร์กโจมตีและสามารถยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้เป็นผลให้ศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองกลับมาอยู่ในยุโรปตะวันตกอีกครั้งในระหว่างนี้ในยุโรปตะวันตกเองกำลังมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านความคิดและศิลปะวิทยาการต่างๆจากพัฒนาการของการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการที่ดำเนินมายุโรปจึงกลับมารุ่งเรืองอีกครั้งในครั้งนี้ได้มี การสำรวจและขยายดินแดนออกไปกว้างไกลจนเกิดเป็นยุคล่าอาณานิคมซึ่งต่อมานำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศกลายเป็นสงครามใหญ่ที่เรียกกันว่าสงครามโลกถึงสองครั้งภายในเวลาห่างกันเพียง 20 ปีในช่วงเวลาเกือบห้าร้อยปี ของประวัติศาสตร์สมัยใหม่มี เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นมากมายที่โดดเด่นและมี ผลกระทบยาวไกลต่อเนื่องมาจนถึงโลกปัจจุบันได้แก่ การสำรวจทางทะเล การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรมการกำเนิดแนวคิดทางการเมืองใหม่ (เสรีนิยมชาตินิยมและประชาธิปไตย) การขยายดินแดนหรือการล่าอาณานิคม (จักรวรรดินิยม) และสงครามโลกสองครั้งเหตุการณ์สำคัญๆหลายประการในช่วงเวลาของประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่ได้ส่งผลสืบเนื่องต่อพัฒนาการของประวัติศาสตร์โลกสมัยปัจจุบันอย่างมากมาย
4.ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน(ค.ศ.1945-ปัจจุบัน) หรือเรียกกันว่าประวัติศาสตร์รวมสมัย
เริ่มตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงซึ่งมี ผลกระทบอย่างรุนแรงทั่วโลกและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมการเมืองการปกครองของสังคมโลกในปัจจุบันโดยช่วงประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบันมีเหตุการณ์ ดังนี้ สงครามเย็น ยุคโลกาวิวัฒน์