kruworapan Article


การปฏิรูปประเทศสมัย ร.5



การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 แบ่งเป็น 2 ระยะคือ

  1. การปรบปรุงการปกครองประเทศในตอนต้นรัชกาล ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หรือเรียกว่า “เคาน์ซิล ออฟ สเตท” (Council of State) และสภาที่ปรึกษาในพระองค์ หรือเรียกว่า “ปรีวี เคาน์ซิล” (Privy Council) สภาทั้งสองนี้มีหน้าที่ในการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมาย รวมทั้งยกเลิกประเพณีโบราณต่างๆ ที่เห็นว่าไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมในสมัยนั้น ปรากฏว่าสภาทั้ง 2 ดำเนินงานไปได้ไม่นาน ก็ต้องหยุดชะงักเพราะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่เรียกว่า“วิกฤตการณ์วังหน้า” (เป็นความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ซึ่งดำรงตำแหน่งวังหน้า อันเนื่องมาจากความหวาดระแวงซึ่งกันและกันจนเกือบจะมีการประทะกันระหว่างกัน) ขึ้นในปลาย พ.ศ.2417 แต่ก็สามารถยุติลงได้
  2. การปฏิรูปการปกครองในช่วงหลัง รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักถึงภยันตรายจากการแสวงหาอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจตะวันตก และทรงเห็นว่าลักษณะการปกครองของไทยใช้มาแต่เดิมล้าสมัยไม่สอดคล้องกับความเจริญก้าวของบ้านเมือง ดังนั้นใน พ.ศ.2430 ทรงเริ่มการปฏิรูปการปกครองแผนใหม่ตามแบบตะวันตก โดยเฉพาะในส่วนกลางมีการจัดแบ่งหน่วยงานการปกครองออกเป็น 12 กรม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนไปใช้คำว่า “กระทรวง” แทนโดยประกาศสถาปนากรมหรือกระทรวงต่างๆ ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2435 และยังได้ประกาศตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงต่างๆ ขึ้น ยุบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีจตุสดมภ์ทุกตำแหน่ง มีสิทธิเท่าเทียมกันในที่ประชุม ต่อจากนั้นได้ยุบกระทรวงและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเสียใหม่เหลือไว้เพียง 10 กระทรวง คือ 
    1. กระทรวงมหาดไทย 
    2. กระทรวงกลาโหม 
    3. กระทรวงการต่างประเทศ 
    4. กระทรวงวัง 
    5. กระทรวงเมือง (นครบาล) 
    6. กระทรวงเกษตราธิการ 
    7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ 
    8. กระทรวงยุติธรรม 
    9. กระทรวงธรรมการ 
    10.กระทรวงโยธาธิการ 
    11.(กระทรวงยุทธนาธิการ) ต่อมาไปอยู่กระทรวงกลาโหม เนื่องจากมีหน้าที่คล้ายคลึงกัน 
    12.(กระทรวงมุรธาธิการ) ต่อมาไปอยู่กระทรวงวัง เนื่องจากมีหน้าที่คล้ายคลึงกัน

ส่วนภูมิภาค ได้ยกเลิกการจัดเมืองเป็นชั้นเอก โท ตรี จัตวา เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบเทศาภิบาล คือ รวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าด้วยกันเป็นมณฑลๆ หนึ่ง โดยมีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครองมณฑล ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลนี้เป็นการรวมอำนาจการปกครองทั้งด้านการเมือง และเศรษฐกิจเข้าสู่ส่วนกลาง ทำให้การปกครองหัวเมืองเป็นแบบเดียวกันและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็นเมือง(จังหวัด) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามลำดับ 

แต่เนื่องจากระยะนี้บรรดาประเทศมหาอำนาจต่างกำลังแสวงหาอาณานิคม ประเทศไทยก็ถูกฝรั่งเศสคุกคามอย่างหนัก จนทำให้การพัฒนาประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 ดำเนินไปไม่ดีเท่าที่ควรและเกิดความล่าช้า เนื่องจากพื้นฐานทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของไทยขัดต่อการพัฒนาประเทศตามแบบแผนใหม่ หรือตามแบบประเทศตะวันตก

การปฏิรูปสังคมไทยสมัยรัชกาลที่5

การเลิกระบบไพร่ เพื่อลดอิทธิพลอำนาจของมูลนายหรือขุนนางที่ควบคุมไพร่ และดึงกำลังคนให้มาอยู่ใต้ อำนาจการควบคุมของรัฐ โดยมีการดำเนินการเลิกไพร่ตามขั้นตอนดังนี้

  1. ทรงจัดตั้งกองทหารหน้าขึ้นใน พ.ศ. 2413 โดยรับจากไพร่ที่มูลนายถึงแก่กรรม
  2. ทรงตราพระราชบัญญัติทหารขึ้นใน พ.ศ. 2431 เพื่อฝึกทหารให้อยู่ใต้บังคับบัญชาเดียวกัน
  3. ทรงออกพระราชบัญญัติเรียกเก็บเงินค่าราชการจากไพร่ปีละ 6 บาท
  4. ทรงออกพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหาร พ.ศ. 2448 กำหนดให้ชายฉกรรจ์ทุกคนที่มีอายุครบ18 ปีบริบูรณ์ ต้องรับราชการทหารคนละ 2 ปีแล้วปลดเป็นกองหนุน
  5. การเลิกทาส เพราะระบบทาสเป็นตัวการของความล้าหลังของสังคมไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเตรียมแผนการดำเนินการเลิกทาสอย่างมีขั้นตอน ดังนี้
  6. การออกประกาศให้ทำการสำรวจจำนวนทาสใน พ.ศ. 2417
  7. การประกาศใช้พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท พ.ศ. 2417 เป็นผลให้ลูกทาสลูกไทส่วน หนึ่งสามารถหาเงินมาไถ่ตนได้ และพระราชบัญญัติฉบับนี้ยังบังคับให้ลูกทาสลูกไทที่เกิดปี พ.ศ. 2411 เป็นอิสระทีเดียวในปี พ.ศ. 2432 คือมีอายุครบ 21 ปี
  8. การประกาศเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ (มณฑลพายัพ) พ.ศ. 2443
  9. การประกาศแผนการเลิกทาสในมณฑลบูรพา พ.ศ. 2447
  10. การประกาศใช้พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ใน พ.ศ. 2448 

ผลกระทบของการเลิกทาสระบบไพร่และทาสต่อสังคมไทย

  1. เกิดแรงงานอิสระ ประชาชนเป็นอิสระในการดำเนินชีวิต
  2. ผลดีต่อการปฏิรูประบบราชการแผ่นดินในรูปกระทรวง ทบวง กรม
  3. ราษฎรหันมาจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์และพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจมากขึ้น
  4. ราษฎรได้เป็นทหารอย่างแท้จริง
  5. ลดอิทธิพลและอำนาจของขุนนางลงได้
     

สาเหตุการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมสมัยรัชกาลที่ 5

สาเหตุภายนอก

  1. การคุกคามของมหาอำนาจตะวันตก รัชกาลที่ 5 จึงทรงผ่อนปรนต่อการบีบบังคับของประเทศตะวันตกและเร่งปรับปรุงภายในประเทศให้เจริญก้าวหน้าขึ้น
  2. การรับอิทธิพลแนวความคิดแบบตะวันตก โดยการเรียนรู้และศึกษาศิลปวิทยาการตลอดจนแนวความคิดแบบตะวันตกมากขึ้น
  3. การเสด็จประพาสประเทศใกล้เคียง ทำให้เห็นความเจริญของประเทศเหล่านี้ จึงได้ทรงปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้เจริญทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้าน

สาเหตุภายใน

  1. การมีไพร่และทาสทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคม
  2. รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่าการเกณฑ์แรงงานของไพร่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่
  3. การมีไพร่อยู่ในความดูแลเป็นจำนวนมาก อาจทำให้ขุนนางผู้ใหญ่ใช้เป็นฐานกำลังเพื่อแย่งชิงอำนาจทางการเมือง และล้มล้างพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ได้
  4. การมีทาสทำให้ชาติตะวันตกดูถูกว่าเมืองไทยเป็นเมืองเถื่อนและอาจใช้เป็นข้ออ้างเข้ายึดครองประเทศได้


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 10.15 KBs
Upload : 2017-06-12 16:06:03
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


kruworapan
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม


NSSC-KM © 2017

Generated 0.076990 sec.