ลักษณะคำภาษาเขมร
หลักการสังเกตคำเขมร
๑. คำเขมรมักสะกดด้วย จ ญ ร ล ส ย และมักจะไม่มีตัวตาม
จ สะกด เช่น อำนาจ เสร็จ สมเด็จ ตำรวจ ฯลฯ
ญ สะกด เช่น เพ็ญ เผอิญ สำราญ ผจญ ครวญ ชำนาญ ฯลฯ
ร สะกด เช่น ขจร อร กำธร ควร ฯลฯ
ล สะกด เช่น กังวล ถกล ถวิล ดล ดาล จรัล กำนัล ฯลฯ
ส สะกด เช่น ดำรัส จรัส ตรัส ฯลฯ
ย สะกด เช่น เสวย เขนย ผกาย ขจาย
๒. คำที่มาจากเขมรมักเป็นคำควบกล้ำ เช่น กรวด กระบือ เกลือ ขลาด กระแส ไพร ตระกอง โปรด กราน กรม กระทรวง กระเพาะ โขลน ฯลฯ
๓. คำที่มาจากเขมรมักใช้อักษรนำ เช่น โฉนด เขม่า ขนอง ขลาด เขลา จมูก ถวาย ฉนำ เฉลียง ถวาย ขนุน ขยำ ฉลู ฯลฯ
๔. คำที่มาจากเขมร มักขึ้นต้นด้วย บัง บัน บำ (เพราะมาจาก บ เติมคำหน้า) เช่น บัง บังควร บังอาจ บังคม บังคับ บังเกิด
บัน บันทึก บันเทิง บันดาล บันได
บำ บำเพ็ญ บำนาญ บำเหน็จ บำบัด
๕. คำที่มากจากเขมรมักขึ้นต้นด้วย กำ คำ จำ ชำ ดำ ตำ ทำ สำ อำ เช่น กำหนด คำรบ จำแนก ชำนาญ ชำรุด ดำเนิน ดำรัส ตำรวจ ตำรา ทำนบ สำราญ อำนวย ฯลฯ
ข้อสังเกต ภาษาบาลี, สันสกฤต และเขมร มักไม่มีวรรณยุกต์กำกับ
|