kru_jeed
ใบความรู้เรื่อง กฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคล
กฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคล
การที่จะสร้างความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นภายในสังคมและประเทศชาตินั้นจำเป็นจะต้องมีการบัญญัติกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ขึ้นมาบังคับใช้ เพื่อให้เกิดเป็น
บรรทัดฐาน
ของคนในสังคม
บรรทัดฐาน คือ แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ
หากสังคมใดที่พลเมืองไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ สังคมนั้นก็จะขาดความสงบสุข แต่ถ้าสังคมใดมีพลเมืองที่ดีปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่คนในสังคมกำหนดไว้ สังคมนั้นก็จะเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งกฎเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดที่จะกล่าวถึงในที่นี่ คือ กฎหมาย
1. ความสำคัญของกฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคล
สิทธิ
หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูปร่างซึ่งมีอยู่ในตัวมนุษย์ตั้งแต่กำเนิดหรืออาจกำหนดขึ้นโดยกฎหมาย
นอกจากนั้นสิทธิของแต่ละบุคคลต้องอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย โดยจะต้องไม่กระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่น เราสามารถแบ่งขอบเขตสิทธิของบุคคลออกได้เป็นสิทธิของบุคคลขั้นพื้นฐาน เช่น สิทธิในการกิน การนอนและสิทธิที่ได้รับโดยกฎหมายกำหนดให้มี เช่น สิทธิในการมีและใช้ทรัพย์สิน สิทธิในการร้องทุกข์ เมื่อถูกบุคคลอื่นละเมิดสิทธิ เป็นต้น
สิทธิที่ได้กล่าวมาข้างต้นทำให้ภาครัฐต้องกำหนดเครื่องมือขึ้นเพื่อเป็นมาตรฐานในการคุ้มครองสิทธิของบุคคล เรียกว่า 'กฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคล' ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า กฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลโดยกฎหมายและเกิดขึ้นเพื่อทำให้สังคมสงบสุข
กฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคลมีความสำคัญต่อประชาชน สังคม และการพัฒนาประเทศชาติเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะประชาชนมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติรวมทั้งต่อโลก ดังนั้น หากประชาชนเรียนรู้และเข้าใจในกฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคลและสามารถปฏิบัติได้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ ก็จะส่งผลให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและช่วยให้ประเทศชาติพัฒนาไปได้ก้าวหน้าและยั่งยืน
2. ลักษณะของกฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคล
กฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคลต้่องอาศัยการทำงานที่สัมพันธ์กันของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและตุลาการ โดยฝ่ายนิติบัญญัติจะต้องทำหน้าที่ร่างกฎหมาย ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมกฎหมายเข้าสู่รัฐสภา เพื่อให้กฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในด้านต่าง ๆ มีความทันสมัยตลอดเวลา ตามสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของสังคม ฝ่ายบริหารจะต้องทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมายคุัมครองสิทธิของบุคคลอย่างจริงจังและเสมอภาคกับประชาชนทุกชนชั้น และฝ่ายตุลาการต้องทำหน้าที่ตัดสินคดีความอันเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลที่ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอย่างรวดเร็วและบริสุทธิ์ยุติธรรม เพื่อแก้ไขปัญหาและเยียวยาบุคคลที่ได้รับผลกระทบต่อการละเมิดสิทธิของบุคคล
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงกฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในบางประเด็น เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองสิทธิขอบบุคคลมากยิ่งขึ้น ดังนี้
2.1 กฎหมายเกี่ยวกับเด็ก
กฎหมายเกี่ยวกับเด็กในประเทศไทยปรากฎอยู่ในประมวลกฎหมายหลายฉบับ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติจัดตัั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ได้กำหนดหลักการพื้นฐานสำหรับเด็กที่จะต้องได้รับความคุ้มครองไว้รวม 4 ประการ คือ สิทธิที่จะมีชีวิตรอด สิทธิที่จะได้รับการพัฒนาส่งเสริม สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองสิทธิที่จะมีส่วนร่วม และได้กำหนดให้องค์กรต่าง ๆ ของสังคมที่เกี่ยวกับการควบคุมดูแลเด็กปฏิบัติต่อเด็ก ดังนี้
1) หน้าที่ของผู้ปกครอง
ที่ต้องปฏิบัติต่อเด็ก ดังนี้
1. อุปการะเลี้ยงดู อบรม สั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในการดูแลของตน การอุปการะเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนและพัฒนา ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงและเหมาะสมกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น
2. คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในการดูแลขอตน โดยไม่ให้ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายต่อสภาพร่างกายและจิตใจ
3. ไม่ทอดทิ้งเด็ก ผู้ปกครองจะต้องไม่ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานพยาบาล สถานที่สาธารณะ หรือสถานที่ใด ๆ โดบเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน
4. ไม่จงใจ หรือละเลยไม่ให้สิ่งที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตกับเด็ก เช่น ด้านสุขภาพอนามัย ปัจจัยสี่ เป็นต้น
5. ไม่ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก
6. ไม่ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณธที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
2) หน้าที่ของรัฐ
ที่ต้องปฏิบัติต่อเด็ก ดังนี้
1. คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ไม่ว่าเด็กจะมีผู้ปกครองหรือไม่มีผู้ปกครองก็ตาม
2. ดูแลและตรวจสอบสถานรับเลี้ยงเด็กต่าง ๆ เช่น สถานสงเคราะห์เด็ก สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน สถานพินิจที่ตั้งอยู่ในเขตอำนาจ เป็นต้น
กฎหมายไทยกำหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กในกรณีดังต่อไปนี้
เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์
1. เด็กเร่ร่อน
2. เด็กถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง
3. เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ เช่น ถูกทารุณกรรม
4. เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้
5. เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรืออาชีพไม่เหมาะสม
6. เด็กพิการ
7. เด็กทีอยู่ในสภาพยากลำบาก
8. เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำเป็นจะต้องได้รับการสงเคราะห์ตามกฎของกระทรวง
NSSC-KM © 2017
Generated 0.015937 sec.