คำอธิบายรายวิชา
คำอธิบายรายวิชา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
รหัสวิชา ว 33245 รายวิชาชีววิทยา 5 ภาคเรียนที่ 1
ชั้น ม.6 เวลา 60 ชั่วโมง จำนวน 1.5 หน่วยกิต
ศึกษาวิเคราะห์ โครงสร้าง การถ่ายทอดทางพันธุกรรมตามหลักของเมนเดล ลักษณะทางพันธุกรรม
ที่นอกเหนือกฎของเมนเดล ยีน โครโมโซม กลไกลการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการของมนุษย์
จากอดีตจนถึงปัจจุบันและการเกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ ความหลากหลายทางชีวภาพ
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสังเกต การสืบค้นข้อมูล การอภิปราย สรุป
เพื่อให้เกิดความคิด ความเข้าใจ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตตนเอง ดูแลรักษาสิ่งมีชีวิตอื่น เฝ้าระวังและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม
ผลการเรียนรู้
ม.6/1 , ม.6/2 , ม.6/3 , ม.6/4 , ม.6/5 , ม.6/6 , ม.6/7 , ม.6/8 , ม.6/9
รวม 9 ผลการเรียนรู้
แบบบันทึกผลการจัดทำโครงสร้างรายวิชาเพิ่มเติม
โครงสร้างรหัสวิชา ว 33245 รายวิชาชีววิทยา 5
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ชั้น ม.6 เวลา 60 ชั่วโมง จำนวน 1.5 หน่วยกิต
ลำดับที่
|
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
|
ผลการเรียนรู้
|
สาระสำคัญ
|
เวลา (ชั่วโมง)
|
น้ำหนักคะแนน
|
1
|
พันธุศาสตร์และ
การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
|
ม.6/1
|
เมนเดลศึกษาการผสมพันธุ์ถั่วลันเตา ทำให้พบหลักการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ต่อมามีการสรุปเป็นกฎแห่งการแยก และกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ กฎของเมนเดลสามารถอธิบายการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้อย่างกว้างขวาง แต่การถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมบางลักษณะไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล เช่น การถ่ายทอดลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์ การข่มร่วมกัน มัลติเปิลแอลลีล และมัลติเปิลยีน และการแปรผันทางพันธุกรรม ยีนในโครโมโซมเพศ ยีนในโครโมโซมเดียวกัน พันธุกรรมที่ขึ้นกับอิทธิพลของเพศ พันธุกรรมจำกัดเพศ
|
12
|
22
|
ลำดับที่
|
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
|
ผลการเรียนรู้
|
สาระสำคัญ
|
เวลา (ชั่วโมง)
|
น้ำหนักคะแนน
|
|
2
|
ยีนและโครโมโซมเพศ
|
ม.6/2
|
โครโมโซมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีจำนวนคงที่ โครโมโซมประกอบด้วยโปรตีนและ DNA ส่วนของ DNA ที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต เรียกว่า ยีน DNA ทั้งหมดที่อยู่ในสิ่งมีชีวิตเรียกว่า จีโนม DNA เป็นโพลีนิวคลีโอไทด์ 2 สายบิดเป็นเกลียว แต่ละสายเกิดจากนิวคลีโอไทด์ต่อกันเป็นสายยาว นิวคลีโอไทด์ประกอบด้วยไนโตรจีนัสเบส น้ำตาลดีออกซีไรโบส และ หมู่ฟอสเฟต DNA แต่ละโมเลกุลแตกต่างกันที่จำนวนของนิวคลีโอไทด์และลำดับของนิวคลีโอไทด์ DNA เป็นสารพันธุกรรมสามารถจำลองตัวเองขึ้นได้ใหม่โดยมีโครงสร้างทางเคมีเหมือนเดิมและยังควบคุมการสังเคราะห์โปรตีน โดยการถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมให้แก่ mRNA เพื่อกำหนดลำดับของกรดอะมิโนในโมเลกุลของโปรตีน โปรตีนเกี่ยวข้องกับการแสดงลักษณะทางพันธุกรรมและการดำรงชีวิต สิ่งแวดล้อมและสารเคมีมีผลให้โครงสร้างของ
|
16
|
28
|
|
ลำดับที่
|
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
|
ผลการเรียนรู้
|
สาระสำคัญ
|
เวลา (ชั่วโมง)
|
น้ำหนักคะแนน
|
3
|
พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทาง DNA
|
ม.6/3
|
DNA เปลี่ยนแปลงไป
การเปลี่ยนแปลงนี้เรียกว่า
มิวเทชัน มิวเทชันที่เกิดขึ้นกับเซลล์สืบพันธุ์สามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้ จึงอาจเกิดลักษณะใหม่ในสิ่งมีชีวิตรุ่นต่อไป
เทคโนโลยีชีวภาพเป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้สิ่งมีชีวิตหรือองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตมีสมบัติตามต้องการ ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีสร้าง DNA สายผสม และการสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมอย่างกว้างขวางทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตลักษณะใหม่ๆมากมาย ซึ่งอาจมีผลเสียเช่นทำให้เกิด
เชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ที่ดื้อยาปฏิชีวนะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและจริยธรรมในการใช้ข้อมูลของจีโนมโดยเฉพาะจีโนมในมนุษย์
|
12
|
15
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ลำดับที่
|
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
|
ผลการเรียนรู้
|
สาระสำคัญ
|
เวลา (ชั่วโมง)
|
น้ำหนักคะแนน
|
4
|
วิวัฒนาการ
|
ม.6/4,ม.6/5,ม.6/6
|
วิวัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะแตกต่างไปจากบรรพบุรุษและถูกคัดเลือกให้มีชีวิตรอดในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันในระยะเวลาที่ยาวนาน ลามาร์ก และ ชาลส์ ดาร์วิน ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่น่าสนใจ โดยลามาร์ก เสนอกฎการใช้และไม่ใช้และ
กฎการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ ชาลส์ ดาร์วิน ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการกับการคัดเลือกตามธรรมชาติ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเกิดจากปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของยีนพูลในประชากรและทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ การพัฒนาที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันทำให้เกิดผลกระทบต่อการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
|
10
|
15
|
ลำดับที่
|
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
|
ผลการเรียนรู้
|
สาระสำคัญ
|
เวลา (ชั่วโมง)
|
น้ำหนักคะแนน
|
5
|
ความหลากหลายทางชีวภาพ
|
ม.6/7,ม.6/8,ม.6/9
|
ความหลากหลายทางชีวภาพประกอบด้วย
ความหลากหลายทางพันธุกรรม ความหลากหลายของสปีชีส์ และ
ความหลากหลายของระบบนิเวศ ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 5 อาณาจักร คือ อาณาจักรมอเนอรา อาณาจักรโพรทิสตา อาณาจักรพืช อาณาจักรฟังไจและอาณาจักรสัตว์ ประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ของความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้น ทุกคนจึงควรตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและหาแนวทางป้องกันการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
|
10
|
20
|
|
|
|
รวมตลอดภาค
|
60
|
100
|
|